ตารางการเรียนรู้ทฤษฎีพัฒนาการ



ที่
ทฤษฏี
แนวคิด
กุญแจสำคัญ
การประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
1
ฟรอยด์
บุคลิกภาพ
พฤติกรรมของผู้ใหญ่จะดีหรือไม่ดีให้ย้อนไปดูพฤติกรรทในวัยเด็กอายุ 0-6 ปี (Critical Period)
1. ในการจัดการเรียนการสอน ครูควรยึดผู้เรียนเป็นหนัก และควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
2. ควรจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละช่วงอายุ
3. ควรจัดกิจกรรมแบบกลุ่ม ให้เด็กได้มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีและเข้ากันกับเพื่อนได้
2
อีริคสัน
บุคลิกภาพ
วัยแรกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้น และวัยต่อๆมาก็สร้างจากรากฐานวัยนี้
ครูทำให้เด็กไว้วางใจ ครูผู้สอนต้องเอาใจใส่และให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการเด็กก็รู้สึกปลอดภัย การพัฒนาก็จะไปด้วยดี
3
โรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
พัฒนาการตามวัย
งานพัฒนาการ คือ งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต ผลของงานแต่ละวัย จะเป็นการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
1. ครูสามารถนำทฤษฎีมาสังเกตการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
2. ครูควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยสอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ตามลำดับของพัฒนาการ
3. ครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เด็กได้รู้จักการเข้าสังคมกับผู้อื่นได้ดี
4
โคลเบิร์ก
พัฒนาการทางจริยธรรม
การพัฒนาจริยธรรมของเด็กและผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผลในการวิเคราะห์จริยธรรมในขั้นนั้นๆ
1. ผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ
2. ใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม
3. ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต
5
เพียเจต์
สติปัญญา
เด็กจะมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่ดี ก็ต่อเมื่อมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
1. เน้นการเรียนรู้ ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
2. ถามคำถามมากกว่าให้คำตอบ
3. ครูผู้สอนพูดให้น้อย ฟังให้มาก
4. ยอมรับความจริง นักเรียนแต่ละคนมีสติปัญญาที่แตกต่างกัน
5. พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอบคำถามนั้นๆ
6
เจโรม บรูเนอร์
การเรียนรู้
Discovery learning การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1  ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2  โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3  การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4  การเสริมแรงของผู้เรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น